SCILUTION

บทความ

การเรียนรู้

10-01-2563 09:18:18น.

 

การเรียนรู้
 
การเรียนรู้ การทำงาน มีหลัก อยู่ 2 แบบ
 
1 ความจำ ( Memory )เป็นความจำเป็นที่จะต้องใช้สมองจดจำ ซึ่งจะบอกว่าความจำไม่จำเป็นเลยก็ไม่ใช่ แม้ว่าการศึกษาในบ้านเราจะบอกว่า ไม่สอนแบบจำ นั้นก็ถูกต้อง แต่การจำก็เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้ เช่น ผู้จัดการชื่อนายสมชาย การที่ผู้จัดการชื่อนายสมชาย จะให้ใช้หลักการความเข้าใจย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะหากนายสมชาย ตัวเล็ก ผิวดำ ฟันยื่น ขาพิการ1ข้าง ยอมใช้หลักความเข้าใจไม่ได้ เพราะดูจากรูปลักษณ์ ย่อมจะไม่น่าชื่อ นายสมชาย หรือการเรียนรู้สินค้าที่จะเสนอขาย หรือเพื่อการสื่อสารในองค์กร จำเป็นต้องใช้ความจำ เช่น รถยนต์ โตโยต้า รุ่น ยาริส มี  3  รุ่น แน่นอนหลักความเข้าใจจะแทบไม่ได้ช่วยอะไรได้เลย หากผู้จัดการบอกว่าให้เสนอรถรุ่น ยาริส แต่พนักงานขายจำรุ่น หน้าตา คุณสมบัติของรถไม่ได้ จะให้ใช้หลักความเข้าใจ ย่อมเป็นไปไม่ได้  เพราะไม่มีอะไรจะเป็นหลัก ในการอธิบาย ว่าทำไม จึงมีชื่อ ยาริส ทำไมจึงมี 3 รุ่น และแต่ละรุ่นต่างกันตรงไหน หากคุณเป็นคนมีความจำดี สมองใหญ่ มีร่องหยักมากเป็นโชคดีของคุณ หากคุณมีสมองเล็ก ร่องหยักน้อย จะทำอย่างไรดี แนะนำว่าใช้หลักการเรียนแบบคุมอง คือ ทำซ้ำๆ ทุกวัน โดยการเขียน และอ่าน 1 หน้ากระดาษ เพราะ ต้องเรียนแบบซ้ำๆๆ จนเข้าไปในสมองเล็กๆ ร่องหยักน้อยๆ ต้องยอมรับการทำซ้ำแม้ว่าจะน่าเบื่อก็ตาม อะไรก็ตามที่อธิบายไม่ได้ ต้องใช้ความจำ
 
2 ความเข้าใจ ( Understanding ) อันนี้เป็นปัญหา ที่การศึกษาในบ้านเราพยามแก้ไขอยู่ ซึ่งคาดว่ายากมากๆ เพราะเราใช้ครู พละมาสอนคณิตศาสตร์ ครูภาษาไทยมาสอนวิทยาศาสตร์ เพราะบุคลากรน้อย และขาดแคลนครูที่มีความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎีมาก ๆ
อะไรคือความเข้าใจ แตกต่างจากความจำอย่างไร เช่น 2 x 2 = 4 มองแบบความจำคือการท่องสูตรคูณ หากเปลี่ยนเป็น 12 x 30 แม่สูตรคูณท่องไม่ถึง จึงต้องใช้ความเข้าใจ หลักเกณฑ์ความเข้าใจต้องอธิบายออกมาเป็นหลักการได้ เช่น 2 x 2 นั้นมีวิธีคิดหลายวิธี เช่น การนำก้อนหิน มา 2 ก้อน มาเรียงแถว และ เพิ่มแถวให้เป็น 2 แถว โดยมีจำนวนก้อนหินในแถวเท่ากัน ( 2 แรกคือจำนวนก้อนหิน ใน1แถว 2 ที่สองคือจำนวนแถว )  หลังจากนั้นจึงนับจำนวนก้อนหิน ว่าได้เท่าไร นั้นหมายความว่า หากเราตั้งโจทย์ ใหม่ 12 x 30 = ? คนที่เรียนรู้และเข้าใจ จะสามารถตอบได้ โดยไม่ต้องใช้ความจำแบบท่องสูตรคูณ ก็น่าจะหาคำตอบได้ แน่นอนคนที่เรียน จำหลักการไม่ได้ ก็ไม่สามารถนำความเข้าใจไปใช้ได้เพราะเขาลืม หลักการไป ( ก็คือจำไม่ได้ ดูข้อ 1 ) อันนี้เป็นปัญหาใหญ่ในการศึกษาของบ้านเรา หากเราสามารถทำความเข้าใจที่ถ่องแท้ ลึกซึ้ง จะสามารถต่อยอดไปที่ การแก้ปัญหา การพัฒนา การปรับปรุง และอื่นๆอีกมากมาย  
การแก้ไขปัญหา วิธีการคิด หรือการตอบก็มีปัญหาในการศึกษาบ้านเรา เช่น โจทย์ ถามว่า 2 x 2 / 2 = ? มองดูดีๆ จะพบว่ามีการ คิดวิธีหาคำตอบได้ 2 แบบ
1 เอา 2 x2 ได้ 4 แล้วเอา 2 ไป หาร ได้ 2
2 เอา 2 / 2 ได้ 1 แล้วเอา 1 ไปคูณ 2 ได้ 2
หากการสอนด้วยความจำ หรือเอามาจากหนังสือที่ได้กำหนดไว้ เช่น ในหนังสือบอกว่า ให้นักเรียนใช้วิธีที่ 1 ในการคิดคำตอบเท่านั้น ซึงหมายความว่า หากเด็กเสนอวิธีคิดแบบข้อ 2  ครูอาจจะบอกว่าผิด (เพราะเราใช้ครู พละมาสอนคณิตศาสตร์ ครูภาษาไทยมาสอนวิทยาศาสตร์ เพราะครูก็ใช้วิธีการจำจากหนังสือมาอีกที)
หรือการทำคำนวณพื้นที่ ใช้หลักการคิด กว้างxยาว นั้น คำตอบสำหรับ หลักความจำคือ ต้อง กว้างxยาว เท่านั้น หากเป็น ยาวxกว้าง ถือว่าผิด แต่หากใช้หลักความเข้าใจ การคิดทั้ง2 วิธีถือว่าใช้ได้ เพราะมองจากหลักการแล้ว เป็นไปตามหลักการ และได้ผลลัพธ์ที่เหมือนกัน ( อันนี้ไม่ได้ยกเมฆมาเป็นตัวอย่าง แต่เกิดขึ้นจริงในห้องเรียนของลูกสาว ป 4  เพราะครูที่สอนยืนกระต่ายขาเดียว ว่าหากใครตอบ ยาว x กว้าง ผิดไม่ได้คะแนน)
 
สรุป สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คนที่เรียนรู้ หากคนๆนั้น มองว่าตนเองเก่ง ฉลาดมีความสามารถ โดยมองจากสายตาตนเอง และไม่รับฟังการมองของคนภายนอก และนำมาปรับปรุง แก้ไข เขาจะ เป็นบัวใต้น้ำ ที่คิดว่าตนเองอยู่เหนือน้ำ และขาดการพัฒนาตนเอง และจมอยู่ใต้น้ำตลอดไป ( หากคนในประเทศไทย นักเรียน นักศึกษา อนาคตของชาติ เป็นแบบนี้มากๆ  ประเทศไทย ก็จะเป็นบัวใต้น้ำที่คิดว่า ประเทศไทยเป็นบัวเหนือน้ำแล้ว )